หลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ม.ธรรมศาสตร์

เนื้หาหลักสูตรประกอบด้วย 2 แผน
แผน ก. แผนทำวิทยานิพนธ์ จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 45 หน่วยกิต
แผน ข. แผยทำงานวิจัยส่วนบุคคล จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 45 หน่วยกิต


รายวิชาที่เปิดสอนและการดำเนินการศึกษาในหลักสูตรประกอบด้วย
1. วิชาเสริมพื้นฐาน 6 หน่วยกิต
   - จิตวิทยาพื้นฐาน
   - จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

2. วิชาบังคับ 21 หน่วยกิต
   - สถิติเพื่อการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
   - การทดสอบและการวัดทางจิตวิทยา
   - การบริหารธุรกิจกับจิตวิทยา
   - จิตวิทยาบุคลากรขั้นสูง
   - สถานภาพการทำงานและองค์ประกอบด้านบุคคล
   - ระเบียบวิธีวิจัยจิตวิทยาอุตสาหกรรมแงะองค์การ
   - สัมมนาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

3. วิชาเลือก 12-18 หน่วยกิต (เลือกวิชาต่อไปนี้) 
   - การออกแบบการทดลองทางจิตวิทยา
   - ทฤษฎีและวิธีการวัดเจตคติ
   - จิตวิทยาพฤติกรรมสังคมในองค์การ
   - จิตวิทยาผู้บริโภคและการโฆษณา
   - จิตวิทยาการบริหารความขัดแย้ง
   - จิตวิทยาการสื่อสารและการชักจูง
   - จิตวิทยาในการพัฒนาองค์การ
   - จิตวิทยาอุตสาหกรรมสัมพันธ์
   - การจูงใจในการทำงาน
   - การคัดเลือกบุคลากรและการประเมินผล
   - เทคนิคการสัมภาษณ์ในองค์การ
   - จิตวิทยาสภาพแวดล้อม
   - สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ขั้นสูง
   - การปรับพฤติกรรมในองค์การขั้นสูง 
   - การประยุกต์ทฤษฎีบุคลิกภาพในองค์การ
   - การตัดสินใจและการแก้ปัญหาในองค์การ
   - คุณภาพในการทำงาน : การออกแบบและพัฒนาโปรแกรม

   - สัมมนาประสบการณ์วิชาชีพจิตวิทยาอุตสาหกรรม

4. วิจัยส่วนตัว 6 หน่วยกิต
   - งานวิจัยส่วนบุคคล 1
   - งานวิจัยส่วนบุคคล 2

5. หรือวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
   - วิทยานิพนธ์


รายชื่ออาจารย์ผู้สอน
   1. ศาสตราจารย์เกษมสันต์ วิลาวรรณ
   2. ศาสตราจารย์ ดร.ชัยพร วิชช่วุธ
   3. รองศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก ศรีสุโข 
   4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์
   5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.ท.สุทธิ์ ศรีบูรพา
   6. ศาสตราจารย์ ดร.ศรีเรือน แก้วกังวาล
   7. รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิโชค วรานุสันติกูล
   8. รองศาสตราจารย์สิริอร วิชชาวุธ
   9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรินทร์ รณเกียรติ
 10. ศาสตราจารย์ ดร.รัตนา ศิริพานิช
 11. ศาสตราจารย์ ดร.ทิพาวดี เอมะวรรธนะ 
 12. อาจารย์อรอนงค์ คัสซิ่นส์
 13. อาจารย์ ดร.อุบลวรรณา ภวกานันท์
 14. อาจารย์อำนาจ บุญศิริวิบูลย์
      และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในสาขาและภายนอกสาขาอีกมากมาย

ค่าใช้จ่าย
เฉพาะค่าบำรุงและค่าลงทะเบียนเรียน เฉลี่ยประมาณปีละ 50,000 บาท


คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าเป็นนักศึกษา

1.เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง วิทยฐานะ
2.เป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อ 8 แห่งข้อบังคับของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2541 กล่าวคือ
  (1) ต้องไม่เป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงซึ่งจะเบียดเบียนหรือขัดขวางต่อการศึกษา
  (2) ต้องไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง
  (3) ต้องไม่มีชื่อในทะเบียนนักศึกษาหรือนิสิตของมหาวิทยาลัยนี้ หรือในสถาบันการศึกษาชั้นสูงอื่นในประเทศ เว้นแต่สภามหาวิทยาลัยจะพิจารณาอนุมัติเป็นกรณีพิเศษ
3.มีคุณสมบัติตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
 (1) เป็นผู้ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.5
 (2) เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานไม่น้อยกว่า 2 ปี
 (3) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการบริหารไม่น้อยกว่า 5 ปี

เงื่อนไขการสมัครสอบ

1. ในการรับสมัคร โครงการฯ จะยังไม่รับหลักฐานแสดงการสำเร็จการศึกษา ดังนั้น ผู้สมัครจะต้องตรวจสอบและรับรองตนเองว่า มีคุณสมบัติตรงตามประกาศรับสมัคร หากโครงการฯ ตรวจสอบในภายหลังพบว่าผู้สอบคัดเลือกรายใดมีคุณสมบัติไม่ตรงตามประกาศรับสมัคร โครงการฯ จะถือว่าผู้นั้นขาดคุณสมบัติทันที
2. ผู้สมัครสาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มีสิทธิ์สมัครคณะ/สาขาอื่นได้ ถ้าวันสอบไม่ตรงกัน
3. อัตราค่าใบสมัคร 200บาท และอัตราค่าสมัครสอบ 500 บาท
4. เมื่อสมัครแล้ว ผู้สมัครไม่สามารถขอเปลี่ยนแปลง ย้ายสาขา หรือขอคืนเงินได้

หลักฐานประกอบการสมัครสอบ
1. ใบสมัครของโครงการปริญญาโท สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
2. รูปสีหรือขาวดำ ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป
3. เงินค่าสมัครสอบ 500 บาท
4. ผลสอบภาษาอังกฤษ (TU-GET) หรือ IELT หรือ TOFEL ฉบับจริง (ผลการสอบอายุไม่เกิน 2 ปี)
5. กรณีที่กำลังสมัครสอบภาษาอังกฤษ (TU-GET) ให้ส่งผลสอบฉบับจริง ภายใน 10 วัน หลังจากวันสอบวิชาเฉพาะสาขา

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
การคัดเลือกใช้วิธีการสอบคัดเลือก 2 วิธี คือ
1. สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 3. (1) และข้อ 3. (2) สอบข้อเขียนวิชาเฉพาะสาขาวิชา, วิชาภาษาอังกฤษ(TU-GET)และสอบสัมภาษณ์
2. สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 3.(3)สอบวิชาภาษาอังกฤษ
(TU-GET)และสอบสัมภาษณ์
การสมัครสอบและการสอบคัดเลือกให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จำนวนรับเข้าศึกษา รวมทั้งหมด 60 คน